ธนบัตรแรกนาขวัญ ธนบัตรในปีพุทธศักราช 2468

13 พฤษภาคม 2018

เมื่อแรกมีใช้เงินกระดาษที่ใช้ครั้งแรกในประเทศไทยอยู่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยนั้นเงินกระดาษที่ออกมาใช้เรียกว่า “หมาย” แต่ถ้าระเรียกว่า “ธนบัตร” ก็เห็นจะไม่ผิด การออกเงินกระดาษในสมัยนั้นสร้างขึ้นในปีพุทธศักราช 2396 เป็นปีที่ 3 แห่งการครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปรากฏหลักฐานจดหมายเหตุ รัชกาลที่ 4 จุลศักราช 1215 ซึ่งตรงกับปีพุทธศักราช 2396 เรื่องโปรดเกล้าฯให้ใช้หมายแทนเงิน แต่ในสมัยนั้นเงินกระดาษหรือหมาย ประชาชนทั่วไปยังไม่เห็นประโยชน์ในการชำระหนี้จับจ่ายใช้สอย จึงไม่ได้รับความนิยม ซึ่งต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ในรัชกาลต่อๆมาวิวัฒนาการของการออกธนบัตรก็เช่นเดียวกันได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการออกธนบัตรที่มีรูปพระราชพิธีที่สำคัญ คือ ภาพพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญและพืชมงคลโดยมีมูลค่าหน้าธนบัตรอยู่ 6 ชนิดราคา ได้แก่ ชนิดราคา 1 บาท ชนิดราคา 5 บาท ชนิดราคา 10 บาท ชนิดราคา 20 บาท ชนิดราคา 100 บาท และชนิดราคา 1,000 บาท

ธนบัตรแต่ละชนิดมีขนาดเท่ากันในบางชนิดราคา กล่าวคือ ธนบัตรชนิดราคา 10 บาท ธนบัตรชนิดราคา 20 บาท และธนบัตรชนิดราคา 100 บาท จะมีขนาดเท่ากัน คือ มีความกว้างธนบัตร 9.5 เซนติเมตร และยาว 17.5 เซนติเมตร

ธนบัตรแรกนาขวัญ ธนบัตรในปีพุทธศักราช 2468 ธนบัตรแรกนาขวัญ ธนบัตรในปีพุทธศักราช 2468 ธนบัตรแรกนาขวัญ ธนบัตรในปีพุทธศักราช 2468

สำหรับธนบัตรชนิดราคา 1 บาท ธนบัตรชนิดราคา 5 บาท และธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท จะมีขนาดแตกต่างกันเห็นได้ชัดเจน โดยที่ธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท จะมีขนาดใหญ่ที่สุด คือ มีความกว้างธนบัตร 10.5 เซนติเมตร และยาว 19.5 เซนติเมตร สีของธนบัตรที่ใช้ของแต่ละชนิดราคาก็แตกต่างกันอย่างชัด

ธนบัตรแรกนาขวัญ ธนบัตรในปีพุทธศักราช 2468 ธนบัตรแรกนาขวัญ ธนบัตรในปีพุทธศักราช 2468
ธนบัตรแรกนาขวัญ ธนบัตรในปีพุทธศักราช 2468

ด้านหลังของธนบัตรของทุกชนิดราคาปรากฏภาพพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญและพืชมงคลของทุกชนิดราคา ถือได้ว่าเป็นครั้งแรกของการออกธนบัตรไทยที่ได้นำเอาเหตุการสำคัญ คือ ภาพพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญและพืชมงคลมาพิมพ์ลงด้านหลังธนบัตร

ความสำคัญของภาพพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญและพืชมงคลที่ปรากฏอยู่บนด้านหลังธนบัตรเป็นพระราชพิธีที่ประมุขของประเทศกสิกรรมทางดินแดนตะวันออกได้กระทำกันเป็นราชประเพณีมาช้านาน ปรากฏในหนังสือพระราชพิธี 12 เดือน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า

เมื่อราว 4,000 ปีมาแล้ว พระเจ้าแผ่นดินจีนทรงเริ่มทำพิธีไถนาเองเป็นคราวแรก ในอินเดียปรากฏชื่อในหนังสือปฐมสมโพธิ์ว่า พระเจ้าสุทโธทนะ แห่งแคว้นสักกะ ได้ทรงกระทำพิธีแรกนา ซึ่งเรียกว่า “วัปปะมงคล” เมื่อประมาณ 2,600 ปีมาแล้ว ในประเทศไทยปรากฏในหนังสือเรื่องนางนพมาศว่า มีพระราชพิธีแรกนาขวัญมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย และกระทำสืบเนื่องมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์มาหยุดชะงักคราวหนึ่ง หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยในครั้งนั้นมีหลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ เป็นอธิบดีกรมเกษตรเป็นผู้แรกนาคนสุดท้ายในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช

ต่อมาพระราชพิธีนี้ได้กลับฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 เมื่อปีพุทธศักราช 2503

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญและพืชมงคลเป็นพระราชพิธีที่กระทำต่อเนื่องกันแยกเป็น 2 พิธี คือ พระราชพิธีจรดพระนังคัลพิธีหนึ่งกับพระราชพิธีพืชมงคลอีกพิธีหนึ่ง พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญนี้เป็นพิธีพราหมณ์มีมาแต่โบราณ ส่วนพระราชพิธีพืชมงคลเป็นพิธีสงฆ์ เพิ่งมีเพิ่มเติมในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระราชพิธีทั้ง 2 นี้ กำหนดกระทำเป็นประจำในเดือน 6 ตามจันทรคติ ซึ่งตรงกับเดือนพฤษภาคมทางสุริยคติ แต่จะเป็นวันใดนั้น โหรหลวงทางสำนักพระราชวังจะเป็นผู้คำนวณฤกษ์และกำหนดเป็นปีๆไป

การกระทำพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญและพืชมงคลนั้นจุดประสงค์ก็คือ เพื่อก่อให้เกิดสวัสดิมงคลและความไพบูลย์แห่งพืชพันธุ์ธัญญาหารของประเทศ ซึ่งประกอบการกสิกรรมโดยการทำนาข้าวเป็นหลัก ด้วยความสำคัญนี้เอง จึงได้นำภาพพระราชพิธีนี้มาพิมพ์อยู่ในธนบัตรในสมัยนั้น โดยในหมู่ประชาชนทั่วไปเรียกว่า “ธนบัตรไถนา”

กองบรรณาธิการ : Money Kudasai

บทความน่าสนใจอื่นๆ

ของแต่งบ้านสไตล์มินิมอล
แนะนำของตกแต่งบ้าน สไตล์มินิมอล ราคาไม่แพง

          การตกแต่งบ้าน สไตล์มินิมอล ที่กำลังเป็นที่นิย...

30 มกราคม 2022

Cryptocurrency สกุลเงินใหม่แห่งยุคดิจิทัล
Cryptocurrency สกุลเงินใหม่แห่งยุคดิจิทัล

ในปีพุทธศักราช 2561 ถือว่าเป็นปีของเศรษฐกิจดิจิทัลของกลุ่มประชาคมอาเซียน หรือเรี...

19 มิถุนายน 2018

FINLIFE เทคโนโลยีทางการเงินของคนในยุคปัจจุบัน
FINLIFE เทคโนโลยีทางการเงินของคนในยุคปัจจุบัน

FINLIFE หรือ Financial Lifestyle คือ การใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันของคนยุคปัจจุ...

18 พฤษภาคม 2018